• Call Us Today: 02-632-8889, 084-676-8151
  • Email: [email protected]

Main Menu

  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • สาระน่ารู้
    • บทความ
    • พระราชบัญญัติ
    • ประกาศแพทยสภา
  • F.A.Q.
  • เวลาทำการ
  • ติดต่อเรา
    • นัดหมายแพทย์
    • แผนที่/สถานที่ติดต่อ

Make An Appointment

  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • สาระน่ารู้
    • บทความ
    • พระราชบัญญัติ
    • ประกาศแพทยสภา
  • F.A.Q.
  • เวลาทำการ
  • ติดต่อเรา
    • นัดหมายแพทย์
    • แผนที่/สถานที่ติดต่อ
On 10 December 2016
Last Updated on 18 September 2018

  • Q : การทำเด็กหลอดแก้ว สามารถป้องกันการแท้งในการตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกได้มั้ย

    A : การทำเด็กหลอดแก้ว ไม่สามารถป้องกันการแท้งใน 3เดือนแรกของการตั้งครรภ์ กระบวนการเด็กหลอดแก้วนั้นช่วยให้เกิดการตั้งครรภ์  แต่ไม่ช่วยลดการแท้ง ไม่ลดความผิดปกติของทารก เมื่อตั้งครรภ์ ความเสี่ยงต่อมารดาและทารกจะเท่ากับการตั้งครรภ์เองตามธรรมชาติ

  • Q : แพทย์จะย้ายตัวอ่อนเพียง 1 ตัว กรณีใดบ้าง?

    A : 1 เป็นการย้ายตัวอ่อนครั้งแรก

    2 เป็นการย้ายกลับตัวอ่อนคุณภาพดี หรือระยะ blastocyst

    3 ยังมีตัวอ่อนคุณภาพดีเก็บแช่แข็ง

    4 มีประวัติตั้งครรภ์และคลอดบุตรจาการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี

    5 สตรีอายุน้อยกว่า 30 ปี หรือเป็นการใช้ไข่บิจาคจากสตรีอายุน้อยกว่า 30 ปี 

  • Q : จำนวนตัวอ่อนที่ควรที่ควรย้ายกลับสู่โพรงมดลูก?

    A : 1. ย้ายกลับเพียง 1 ตัว  กรณีที่สตรีมีโรคประจำตัวมีความเสี่ยงมากขึ้นกรณีตั้งครรภ์แฝด เช่น เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง

    มีความเสี่ยงทางสูตินีเวช ประวัติครรภ์เป็นพิษ คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์ ตั้งแต่2 ครั้งขึ้นไป มีความเสี่ยงมดลูกแตก ได้แก่ ผ่าตัดคลอดตั้งแต่ 2 ครั้ง ผ่าตัดเนื้องอกมดลูก โครงสร้างมดลูกผิดปกติแต่กำเนิด

    เคยคลอดบุตรตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป

    สตรีอายุมากกว่า 45 ปี และใช้ไข่บริจาค

    สตรีที่รับตั้งครรภ์แทน

    2. ย้ายกลับ 3 ตัวอ่อน กรณีที่มีโอกาสตั้งครรภ์ต่ำ กรณีสตรีอายุตั้งแต่ 42 ปีขึ้นไปและไม่มีตัวอ่อนคุณภาพดีเลย

    เคยมีประวัติไม่่ตั้งครรภ์ จากการย้ายตัวอ่อนตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไปและไม่มีตัวอ่อนคุณภาพดีเลย

    3. นอกเหนือจากรณีข้างต้น พิจารณาย้ายเพียง 1-2 ตัวอ่อน 

  • Q : ขณะย้ายตัวอ่อนจำเป็นต้องกลั้นปัสสาวะหรือไม่?

    A : ขึ้นกับเทคนิคการย้ายตัวอ่อนในแต่ละสถาบัน และความถนัดของแพทย์ โดยปกติจะใช้ ultrasound ทางหน้าท้องร่วมด้วยเพื่อกำหนดตำแหน่งในการย้ายตัวอ่อนจึงจำเป็นต้องกลั้นปัสสาวะเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามในบางสถาบันจะไม่ใช้ ultrasound ในการย้ายตัวอ่อนจึงไม่จำเป็นต้องกลั้นปัสสาวะ

  • Q : หลังการย้ายตัวอ่อนต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?

    A :  ปฏิบัติตัวตามปกติโดยเฉพาะชีวิตในสังคมเมืองที่ไม่ต้องออกไปผจญภัยอะไร สามารถขับรถ เดิน ขึ้นบันได รับประทานอาหารนอกบ้าน แต่ควรเว้นการออกกำลังกายหนักๆ เช่น วิ่งเร็ว ปีนผา ปั่นจักรยานฯ ส่วนการนอนนิ่งๆนั้นมีผลงานวิจัยออกมาชัดเจนว่าไม่ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ และการนอนนิ่งๆนั้นอาจทำให้เกิดความเครียดมากกว่า แต่ถ้าต้องการนอนพักก็สามารถทำได้ค่ะ คำถามคือต้องนอนนานเท่าไร ควรนอนประมาณ 2-3 วันกรณีย้ายตัวอ่อนในวันที่ 5 ของตัวอ่อน (blastocyst) และ 4-5วันหลังการย้ายตัวอ่อนในวันที่ 3 นอกจากนี้ควรใช้ยาตามที่แพทย์จ่ายให้อย่างสม่ำเสมอค่ะ #

  • Q : ยากระตุ้นไข่ ทำให้คุณภาพไข่ดีขึ้นหรือไม่?

    A : ในธรรมชาติของรังไข่แต่ละรอบเดือนจะมีไข่หลายใบที่โต แต่จะมีเพียงใบเดียวที่โตเต็มที่ และตกออกจากรังไข่ ใบเล็กๆที่เหลือจะฝ่อไป การใช้ยากระตุ้นไข่นั้นทำให้มีไข่โตและตกหลายใบ แต่ไม่ช่วยเพิ่ม คุณภาพไข่แต่อย่างใด

  • Q : มียาที่ทำให้คุณภาพไข่ดีขึ้นหรือไม่?

    A : คำตอบอาจดูโหดร้ายนะคะ เพราะไม่มียาที่ทำให้คุณภาพไข่ดีขึ้น

  • Q : ซื้อยากระตุ้นไข่รับประทานเองได้หรือไม่?

    A : ไม่แนะนำให้ซื้อยารับประทานเอง ถ้าจะรับประทานเองควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงดู จำนวน ขนาดของไข่ และความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก ตามวันที่เหมาะสมซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ บางรายอาจพบว่าไม่มีไข่โต หรือ มีไข่จำนวนมากเกินต้องการ หรือเยื่อบุโพรงมดลูกบาง ซึ่งควรต้องมี การปรับเปลี่ยนการรักษามากกว่าใช้ยาต่อเนี่องไปเรื่อยๆ

  • Q : ผู้หญิงอายุเท่าไรที่ไม่ควรตั้งครรภ์

    A : ไม่มีตัวเลขตายตัว แต่เมื่ออายุมากขึ้นพบว่าโอกาสมากขึ้นที่ทารกจะมีความผิดปกติของโครโมโซม เช่น Down syndrome และอาจพบภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์มากขึ้น เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังขึ้นกับสุขภาพเดิมของสตรีนั้นด้วย เมื่ออายุมากขึ้น คุณภาพของไข่จะลดลง ทำให้โอกาสตั้งครรภ์ลดลงตามอายุ

  • Q : น้ำหนักตัวของผู้หญิง มีผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่

    A : เราอาจพบภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังได้ในสตรีน้ำหนักมาก ซึ่งมักมีประวัติประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอหลายๆเดือนมาครั้ง การรักษาต้องใช้ยากระตุ้นไข่ อาจพบว่ากระตุ้นไข่ยากไม่ได้ไข่ หรือบางครั้งได้ไข่ จำนวนมากเกินไป นอกจากนี้ถ้าตั้งครรภ์ยังอาจพบภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น

  • Q : การขูดมดลูกทำให้มดลูกสะอาดจริงหรือไม่

    A : ปกติมดลูกก็สะอาดแบบธรรมชาติอยู่แล้ว สะอาดหมายถึงไม่ติดเชื้อนะคะ การขูดมดลูกนั้นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือแผลเป็นในโพรงมดลูกได้ ดังนั้นไม่แนะนำให้ขูดมดลูกถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ กรณีที่คาดว่า จะมีความผิดปกติ เช่น ติ่งเนื้อ เนื้องอก หรือพังผืด แนะนำให้ส่องกล้องดูในโพรงมดลูก (hysteroscopy) จะเหมาะกว่า และถ้าพบรอยโรคสามารถทำผ่าตัดผ่านกล้องได้

  • Q : การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์สามารถลดปัญหาการแท้งได้หรือไม่

    A : การรักษานั้นทำเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ หลังจากตั้งครรภ์แล้ว โอาสการแท้งจะใกล้เคียงธรรมชาติ นอกจากนี้ความผิดปกติของทารกมีหลายด้าน เช่น โครโมโซมผิดปกติ อวัยวะผิดปกติ หรือแม้แต่ออทิ สติก ก็มีโอกาสเกิดไม่ต่างจากการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ

  • Q : การทำเด็กหลอดแก้วสามารถลดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้หรือไม่

    A : แพทย์จะย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูกโดยใช้ Ultrasound ช่วยกำหนดตำแหน่งในโพรงดมดลูก อย่างไรก็ตามในรายที่ท่อนำไข่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ อาจทำให้ตัวอ่อนเลื่อนจากตำแหน่งที่วางไว้ ออกนอกโพรงดมดลูกและเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้ ดังนั้นเราอาจพบการตั้งครรภ์นอกมดลูกใน บางรายที่มีความเสี่ยงอยู่ก่อนแล้ว

  • Q : อยากรักษา อยากได้ลูกแฝด ท้องครั้งเดียวได้ลูกสองคนเลย ดีมั้ยคะ

    A : วัตถุประสงค์ของการรักษาภาวะมีบุตรยากคือ ได้ทารกหนึ่งคนที่สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง การตั้งครรภ์แฝด (ทารกมากกว่าหนึ่งคน)ที่เกิดขึ้นจากการรักษานั้นถือเป็นภาวะแทรกซ้อน ปัญหาของการตั้งครรภ์ แฝดมีตั้งแต่ การแท้ง น้ำเดิน การคลอดก่อนนำหนด น้ำหนักทารกแรกคลอดน้อยอาจต้องนอนใน ICU แม่ตกเลือดหลังคลอด หรือมีปัญหาในการตรวจวินิจฉัยโครโมโซมของทารกในครรภ์ได้

  • Q : เลือกเพศบุตรได้หรือไม่

    A : ตามกฎหมายของประเทศไทย ไม่อนุญาติให้เลือกเพศบุตร ยกเว้นกรณีที่มีโรคบางอย่างที่ถ่ายทอดสัมพันธ์กับเพศ เช่น โรคฮีโมฟิเลียเอ (hemophilia A)โรคฮีโมฟีเลียบี (hemophilia B)โรคกล้ามเนื้อ อ่อนแรง Duchene muscular dystrophy เป็นต้น

  • Q : การใช้แผ่นทดสอบไข่ตก เหมาะกับใครและใช้อย่างไร

    A : การใช้แผ่นมดสอบไข่ตกนั้นเมหาะสำหรับสตรีที่ประจำเดือนมาปกติหรือคลาดเคลื่อนไม่มาก สำหรับสตรีรอบเดือนนานกว่า 35 วันอาจมีประจำเดือนได้แต่ไม่มีไข่ตกในรอบนั้น การทดสอบในกรณีนี้ อาจไม่ค่อยมีประโยขน์เพราะตรวจเท่าไหร่ก็ไม่พบว่ามีไข่ตก กรณีที่ที่รอบเดือนปกติควรตรวจ ประมาณวันที่ 8-10 นับจากประจำเดือนวันแรก เริ่มจากผลตรวจเป็นลบจนเป็นบวก เมื่อพบผลบวก ควรเริ่มมีเพศสัมพันธ์จากวันนั้น วันเว้นวัน 3 ครั้ง

  • Q : ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนมาเก็บอสุจิตรวจ

    A : ควรงดเพศสัมพันธ์ หรือการเอาน้ำเชื้อออก ในช่วง 3-7 วัน

  • Q : ถ้าเคยมีบุตรมาก่อนแล้วยังจำเป็นต้องตรวจอสุจิอีกหรือไม่

    A : จำเป็นค่ะ อสุจินั้นถูกสร้างขึ้นทุกวันใช้เวลา 2 เดือนเจริญเติบโตจากตัวอ่อนเป็นตัวเต็มวัย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้นได้เสมอ การมีบุตรมาก่อนไม่ได้การันตีว่าอสุจิในปัจจุบันปกติแข็งแรงดี

  • Q : มียาที่ทำให้อสุจิแข็งแรงหรือไม่

    A : มีงานวิจัยหลายชิ้นที่กล่าวว่าการใช้ folic acid หรือ zinc ทำให้อสุจิดีขึ้น แต่เมื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลผลแล้ว ไม่พบว่ายาทำให้อสุจิดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

  • Q : ถ้าผลตรวจอสุจิออกมาไม่ดี แปลว่าร่างกายไม่แข็งแรงใช่หรือไม่

    A : ผลตรวจอสุจิไม่สามารถบอกถึงสุขภาพได้ ผู้ชายที่สุขภาพแข็งแรงเป็นนักกีฬาก็อาจมีอสุจิที่ผิดปกติ อย่างมากได้

  • Q : การแช่แข็งอสุจิมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร

    A : ข้อดีคือ ผู้ชายไม่ต้องมาเก็บน้ำเชื้อในวันที่ต้องการใช้ แต่ก็มีข้อเสียคือพบว่าอสุจิที่แช่แข็งไว้จะตายหลังละลายออกมาประมาณ 50% จะดีกว่ามากถ้าสามารถใช้น้ำเชื้อสด

  • Q : การฉีดเชื้อผสมเที่ยม(IUI) สามารถทำได้กี่ครั้ง

    A : โดยทฤษฎีสามารถทำได้ 4-6 ครั้ง ขึ้นกับสาเหตุของภาวะมีบุตรยากด้วย นอกจากนี้ต้องพิจารณาถึงอายุของสตรีด้วย ถ้าอายุ 40 ปีขึ้น ถ้าต้องการรักษาวิธีนี้ไม่ควรทดลองหลายครั้ง เพราะคุณภาพของไข่ แย่ลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น

  • Q : โอกาสตั้งครรภ์จากการฉีดเชื้อผสมเทียมมีประมาณเท่าไหร่

    A : โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 10-15%

  • Q : การฉีดเชื้อผสมเทียมมีข้อเสียหรือไม่

    A : วิธีการนี้มีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์แฝด (ทารกมากกว่า 1) เนื่องจากมีไข่ตกหลายใบ โอกาสเกิดการติดเชื้อ 1/500

  • Q : ฉีดเชื้อผสมเทียมต้องกระตุ้นไข่รึเปล่า

    A : โดยปกติจะกระตุ้นไข่ร่วมด้วยอาจเริ่มจากการรับประทานยากระตุ้นไข่ ถ้ากระตุ้นยากอาจใช้ฮอร์โมนฉีดกระตุ้นไข่ ส่วนการฉีดเชื้อแบบไม่ใช้ยากระตุ้นไข่นั้นสามารถทำได้เพียงแต่โอกาสตั้งครรภ์จะต่ำ ว่าการใช้ยากกระตุ้นประมาณ 5%

news

  1. You are here:  
  2. Home
  3. F.A.Q.

942/155-156 อาคารชาญอิสสระทาวเวอร์ ชั้น 17 ถ.พระราม 4 แขวงสุริยวงศ์ บางรัก กทม. 10500
Tel: 02-632-8889, 084-676-8151 | Hours: Mon-Fri 4pm-8pm , Sat-Sun 9am-5pm

Copyright © 2019 Advance IVF Clinic - คลีนิกรักษาผู้มีบุตรยาก. All Rights Reserved. Web by aWEB.