ขอเริ่มต้นที่การปฏิสนธิตามธรรมชาติก่อนค่ะ ในช่วงที่ไข่ตกออกจากรังไข่ ส่วนปลายของท่อนำไข่จะโบกพักไข่เข้าสู่ท่อนำไข่ส่วนปลาย ถ้ามีเพศสัมพันธ์ในช่วง นั้น อสุจิเดินทางจากช่องคลอดเข้าสู่โพรงมดลูกและท่อนำไข่ อาจเกิดการ ปฏิสนธิกับไข่ที่บริเวณท่อนำไข่ส่วนปลาย
ตำแหน่งที่ไข่และอสุจิเกิดการปฏิสนธิ
หลังจากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ตัวอ่อนจะมีการแบ่งเซลล์และเดินทางจาก ปลายท่อนำไข่เข้าสู่โพรงมดลูก โดยแบ่งจาก 2 เซลล์ เป็น 4 เซลล์ในวันที่ 2 เป็น 6-8 เซลล์ในวันที่ 3 วันที่ 4 เซลล์จะรวมกันจะไม่สามารถบอกได้ว่ากี่ เซลล์ เรียกระยะ morula และในวันที่ 5 ตัวอ่อนจะอยู่ในระยะ blastocyst และจะเกิดการฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูกต่อไป
ลักษณะของตัวอ่อนหลังการปฏิสนธิ
การเดินทางของตัวอ่อนจากปลายท่อนำไข่เข้าสู่โพรงมดลูก
ตัวอ่อนระยะต่างๆ
2 cell | 4 cell |
6-8 cell | Compacted |
Blastocyst |
?การเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ
ในอดีตเราสามารถเลี้ยงตัวอ่อนได้ถึงระยะแบ่งตัวเท่านั้น เมื่อ เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ได้รับการพัฒนามากขึ้น ปัจจุบันเราสามารถ เลี้ยงตัวอ่อนได้ถึงระยะบลาสโตซิส ซึ่งเป็นตัวอ่อนในระยะสุดท้ายก่อนการ ฝังตัวในโพรงมดลูก โดยพยายามจัดสิ่งแวดล้อมของตู้เลี้ยงตัวอ่อนให้ใกล้ เคียงในโพรงมดลูกให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามการเลี้ยงตัวอ่อนจนถึงระยะบ ลาสโตซิสต์เหมาะสมกับบางรายเท่านั้น เนื่องจากตัวอ่อนสามารถเจริญเติบโตถึงระยะบลาสโตซิสต์ได้ประมาณร้อยละ 30 หมายความว่าจะมีตัว อ่อนบางตัวที่ไม่สามารถเติบโตถึงระยะนี้ได้ ซึ่งอาจเป็นจากปัจจัยของตัว อ่อนนั้นเอง ( ไม่ได้แปลว่าตัวอ่อนนั้นผิดปกติหรือถ้าตั้งครรภ์จะเป็นทารกที่ ผิดปกติ) หรืออาจเป็นจากห้องปฏิบัติการที่ไม่สมบูรณ์ 100 % ดังนั้นจึงไม่ สามารถตัดสินได้ว่าตัวอ่อนที่ไม่สามารถโตถึงระยะบลาสโตซิสเป็นตัวอ่อน ที่ไม่ดี ในบางสถาบันจะพิจารณาเกรดของตัวอ่อนเป็นหลัก ถ้าตัวอ่อนมี ลักษณะที่ไม่ดีมากนัก จะทำการย้ายตัวอ่อนก่อนระยะบลาสโตซิสต์ โดย โอกาสการตั้งครรภ์ต่อรอบการเก็บไข่ของทั้งสองวิธีจะไม่แตกต่างกัน
กรณีมีตัวอ่อนไม่มาก ถ้าต้องการเลี้ยงตัวอ่อนถึงระยะบลาสโตซิสต์ สามารถทำได้ แต่อาจต้องย้ายตัวอ่อนก่อนกำหนดถ้าตัวอ่อนเริ่มโตช้ากว่า เกณฑ์ปกติ ไม่เช่นนั้นตัวอ่อนอาจหยุดการเติบโต ทำให้โอกาสตั้งครรภ์ต่ำ หรือต้องยุติการรักษาไม่สามารถย้ายตัวอ่อนได้
ตัวอ่อนในวันที่ 3 | ตัวอ่อนในวันที่ 5 |
?การเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกก่อนการใส่ตัวอ่อน
การใส่ตัวอ่อนสามารถทำได้ในรอบเดียวกับการเก็บไข่ หรืออาจใส่ตัวอ่อน ที่เหลือกลับสู่โพรงมดลูกในรอบอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องกระตุ้นไข่รอบใหม่ กรณีที่ใส่ตัวอ่อนกลับในรอบเดียวกับการเก็บไข่ อาจทำได้ในวันที่ 3-5 หลัง การเก็บไข่โดยแพทย์จะพิจารณาเกรด อัตราการเจริญเติบโตของตัวอ่อน เป็นหลัก กรณีที่มีตัวอ่อนจำนวนมาก มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะรังไข่ถูก กระตุ้นมากเกินไป เยื่อบุโพรงมดลูกไม่เหมาะสมหรือสตรีนั้นไม่สะดวกใน การย้ายตัวอ่อนในรอบนั้น แพทย์มักแนะนำให้แช่แข็งตัวอ่อนไว้ก่อน หลัง จากนั้นสามารถเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกโดยการรับประทานยาประมาณ 2 สัปดาห์หรือดูอัลตราซาวด์รอบธรรมชาติโดยไม่ต้องรับประทานยา เมื่อได้ ความหนาและรูปแบบของเยื่อบุโพรงมดลูกที่เหมาะสม จะทำการละลายตัว อ่อน และย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูกกลับในวันที่ 1-5 หลังการละลายตัว อ่อนต่อไปขึ้นกับระยะตัวอ่อนที่แช่ไว้ โอกาสความสำเร็จไม่ต่างจากการย้าย ตัวอ่อนสด
จำนวนตัวอ่อนที่จะใส่กลับสู่โพรงมดลูก
แพทย์จะพิจารณาเกรดของตัวอ่อน และอายุของสตรีก่อนการใส่ตัว อ่อน
กรณีที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปีและเกรดของตัวอ่อนดีมาก อาจใส่ตัวอ่อนระยะ วันที่ 5 (blastocyst)เพียงตัวเดียวเพื่อลดโอกาสเกิดครรภ์แฝด เนื่องจากการ ตั้งครรภ์แฝดถือเป็นครรภ์ที่มีความเสี่ยงทั้งต่อมารดาและทารกมากกว่าครรภ์เดี่ยว
ดังนั้นก่อนการย้ายตัวอ่อนแพทย์จะอธิบายถึงเกรดของตัวอ่อน จำนวนตัว อ่อนที่มี และตัดสินใจร่วมกับคู่สมรสถึงจำนวนตัวอ่อนที่จะใส่กลับ โอกาสความสำเร็จและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการย้ายตัวอ่อนและการตั้งครรภ์
การย้ายตัวอ่อน
ดังที่กล่าวข้างต้นในอดีตเราไม่สามารถเลี้ยงตัวอ่อนนอกร่างกายได้ นาน เราจึงจำเป็นต้องย้ายตัวอ่อนก่อนการแบ่งเซลล์ หรือแบ่งเซลล์ในช่วง 1-2 วันแรก โดยจะย้ายตัวอ่อนเข้าสู่ท่อนำไข่โดยเชื่อว่าจะใกล้เคียงกับการ เดินทางของตัวอ่อนตามธรรมชาติ การย้ายตัวอ่อนในระยะนี้มีหลายวิธี จะ กล่าวถึงวิธีที่ยังมีแพทย์เลือกใช้ในคู่สมรสบางราย ได้แก่
- การทำซิ๊ฟ (ZIFT = Zygote IntraFallopian Transfer) เป็นการนำตัว อ่อนที่ปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการแต่ยังไม่แบ่งตัว ใส่เข้าไปในท่อนำ ไข่ของคู่สมรสฝ่ายหญิง เพื่อให้ตัวอ่อนเดินทางไปฝังตัวที่โพรงมดลูก เองตามธรรมชาติ วิธีนี้ต้องทำการผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้องในวัน ต่อมาหลังการเก็บไข่
เมื่อเทคโนโลยีการเลี้ยงตัวอ่อนนอกร่างกายดีขึ้น เราสามารถเลี้ยงตัวอ่อน ได้นานขึ้น จึงสามารถย้ายตัวอ่อนกลับสู่โพรงมดลูกได้ การย้ายตัวอ่อนระ ยะต้นๆ จึงได้รับความนิยมน้อยลงเนื่องจากจะต้องทำผ่าตัดผ่านกล้อง ซึ่ง ต้องดมยาสลบ มีแผลที่หน้าท้อง มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนและมีค่าใช้ จ่ายมากขึ้น
ปัจจุบันการย้ายตัวอ่อนจะคล้ายการตรวจภายใน ไม่จำเป็นต้องใช้ยาระงับ ความเจ็บปวดหรือยาดมสลบ แพทย์จะทำความสะอาดอวัยวะภายนอก ใส่ เครื่องมือในช่องคลอดและทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดและปากมดลูก ก่อนสอดเครื่องมือขนาดเล็กเข้าในโพรงมดลูก เมื่อเครื่องอยู่ในตำแหน่งที่ เหมาะสม และสอดท่อพลาสติกขนาดเล็กซึ่งมีตัวอ่อนอยู่เข้าในโพรงมดลูก และใส่ตัวอ่อนตำแหน่งที่ต้องการ หลังจากนั้นมักให้นอนพักประมาณ 1-2 ชั่วโมง ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล การย้ายตัวอ่อนมีหลายเทคนิค แพทย์บางท่านนิยมให้กลั้นปัสสาวะ เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะจะทำอัลตรา ซาวด์ทางหน้าท้อง ขณะย้ายตัวอ่อนจะใช้อัลตราซาวด์ดูตำแหน่งที่ต้องการ วางตัวอ่อน แพทย์บางท่านนิยมให้ปัสสาวะออกให้หมดก่อน ทั้งนี้ขึ้นกับ เทคนิคและความชำนาญของแพทย์แต่ละท่าน
ภาพอัลตราซาวด์ทางหน้าท้องขณะย้ายตัวอ่อน
การปฏิบัติตัวหลังการใส่ตัวอ่อน
1. นอนพักหลังการใส่ประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากนั้นสามารถเดิน ทางกลับบ้านได้
2. สามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้(การขึ้นเครื่องไม่มีผลเสีย)
3. งดเพศสัมพันธ์และไม่สวนล้างช่องคลอด
4. สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ระบุว่าการจำกัดกิจกรรมจะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ นอนพักนิ่งๆไม่ช่วยเพิ่มโอกาสการฝังตัวของตัวอ่อน
5. งดการออกกำลังกายหนักๆ เช่น ปีนเขา วิ่งมารธอน เทนนิส เป็นต้น
6. ไม่รับประทานยานอกเหนือจากที่แพทย์กำหนด หรือปรึกษาแพทย์ ก่อนรับประทานยานั้นๆ
ทั้งนี้ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ชิ้นใดระบุถึงอาหารหรือการปฏิบัติ ตัวที่จะมีผลสำเร็จต่อการตั้งครรภ์ โดยธรรมชาติจะอนุญาตให้ตัวอ่อนที่ สมบูรณ์ที่สุดอยู่รอด อย่างไรก็ตามทารกที่เกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญ พันธ์มีโอกาสพบความผิดปกติไม่ต่างจากการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ
สำหรับการใช้ฮอร์โมนหลังการย้ายตัวอ่อนมีความจำเป็นอย่างมาก จำเป็นต้องใช้ตามแพทย์กำหนด
อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนนัด เช่น มีภาวะรังไข่ถูกกระตุ้น มากเกินไป (อาการท้องอืดมาก ปัสสาวะออกน้อยลง) ปวดท้องมาก มี เลือดออกทางช่องคลอด
โดย : พญ. พิชชา ปิ่นจันทร์