ภาวะมีบุตรยาก

ภาวะมีบุตรยาก (infertility) หมายถึง การที่คู่สมรสมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่คุมกำเนิด เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปีแล้วไม่ตั้งครรภ์

ภาวะมีบุตรยากแบ่งเป็น 2 ชนิด

1. ชนิดปฐมภูมิ คือ ไม่เคยตั้งครรภ์เลย

2. ชนิดทุติยภูมิ คือ เคยมีการตั้งครรภ์มาก่อน แต่ไม่สามารถตั้งครรภ์ใหม่ได้

โดยแบ่งสาเหตุ จากฝ่ายหญิง 40% ฝ่ายชาย 40% และจากทั้งสองฝ่าย10% อย่างไรก็ตามในปัจจุบันช่วงอายุในการแต่งงานหรือต้องการมีบุตรช้ากว่าในอดีต ซึ่งการรอระยะเวลา 1 ปีตามคำจำกัดความเดิมนั้นอาจทำให้การรักษาล่าช้า มีผลให้โอกาสตั้งครรภ์ลดลง ดังนั้นการพบ แพทย์เตรียมความพร้อมก่อนการมีบุตรอาาจทำให้ทราบล่วงหน้าว่าคู่สมรสนั้นมีปัจจัยที่อาจทำให้เกิด ภาวะมีบุตรยากอยู่หรือไม่

สาเหตุจากฝ่ายชาย

  • การสร้างเชื้ออสุจิผิดปกติ เช่น อัณฑะฝ่อ อัณฑะไม่ลง มาในถุง ต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ การอุดตันของท่อน้ำเชื้อ จากความพิการแต่กำเนิด กาทำหมัน การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การหลั่งน้ำเชื้อผิดปกติ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว อสุจิไหล ย้อนกลับเข้ากระเพาะปัสสาวะ

สาเหตุทางฝ่ายหญิง

  • ความผิดปกติของการเจริญและการตกของไข่ จากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ภาวะรังไข่ล้มเหลว ไข่ไม่ตกเรื้อรัง โรคต่อมไร้ท่ออื่นๆ
  • ความผิดปกติของอุ้งเชิงกรานและท่อนำไข่ ท่อนำไข่อุดตันจากการเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เยื่อบุโพรง มดลูกเจริญผิดที่ การผ่าตัดอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
  • ความผิดปกติของมดลูก มดลูกผิดปกติแต่กำเนิด เนื้องอกมดลูก ติ่งเนื้อหรือพังผืดในโพรงมดลูก ความผิดปกติของช่องคลอดแต่กำเนิด
  • ปัจจัยอื่นๆ

 

???การตรวจหาสาเหตุ

การซักประวัติ เช่น ประวัติประจำเดือน อาการผิดปกติขณะมีประจำเดือน การผ่าตัดในอดีต ความถี่ของเพศสัมพันธ์ โรคประจำตัว เป็นต้น

การตรวจวินิจฉัย

ในแต่ละคู่สมรสอาจแตกต่างกันตามความเหมาะสมทั้งนี้ขึ้นกับประวัติของคู่สมรส โดยทั่วไปแนะนำตรวจเลือด เพื่อหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และธาลัสซีเมียทั้งสามีและภรรยา ซึ่ง สามารถถ่ายทอดไปบุตรได้

ฝ่ายชาย : ตรวจเชื้ออสุจิเพื่อทราบจำนวน การเคลื่อนไหว และรูปร่าง (ควรงดการหลั่งน้ำเชื้อก่อนการ ตรวจ 3วัน แต่ไม่เกิน 7วัน)

ฝ่ายหญิง : ตรวจภายในและมะเร็งปากมดลูก คลื่นเสียงความถี่สูง ทางช่องคลอด

การตรวจท่อนำไข่ เช่นฉีดสี x-ray (hysterosalpingography) หรือการผ่าตัดผ่านกล้อง (ทั้งนี้ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์)

การตรวจภาวะไข่ตก เช่น การวัดอุณหภูมิ การตรวจ ระดับฮอร์โมน คลื่นเสียงความถี่สูง (ตามความเหมาะสม)

การส่องกล้องในโพรงมดลูก กรณีที่คาดว่าอาจมีติ่งเนื้อ หรือพังผืด

หลังการตรวจวินิจฉัยและทราบสาเหตุ จะรักษาตามสาเหตุนั้นๆก่อน เช่น ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก ถุงน้ำ chocolate กรณีที่แก้ไขปัจจัยนั้นๆแล้วยังไม่ตั้งครรภ์ หรือไม่สามารถแก้ไขได้ แพทย์จะพิจารณาใช้ เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ตามความเหมาะสมต่อไป

เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แบบต่างๆ

การฉีดเชื้อผสมเทียม (Intrauterine insemination : IUI) เป็นวิธีเบื้องต้น มีค่าใช้จ่ายไม่มากนัก โอกาสความสำเร็จอยู่ที่ 10-15% วิธีนี้เหมาะสำหรับสตรีที่อายุไม่มาก มีท่อนำไข่ที่ดีอย่างน้อย 1 ข้าง มีไข่เจริญเติบโตปกติ หรือใช้ยากระตุ้นไข่แล้วไข่โตตามปกติได้ อสุจิดีหรือผิดปกติเล็กน้อย

ปกติการฉีดเชื้อผสมเทียมมักใช้ร่วมกับการรับประทานยาหรือฉีดฮอร์โมนกระตุ้นไข่ เมื่อตรวจคลื่น เสียงความถี่สูงพบขนาดของไข่เหมาะสมและความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ในเกณฑ์ปกติ จะ กำหนดให้ไข่ตกในวันที่เหมาะสมและฉีดเชื้อ โดยอสุจิจะผ่านตอนการล้างเชื้อแบคทีเรียและสารต่างๆ ออก คัดเฉพาะสุจิที่แข็งแรงฉีดกลับเข้าสู่โพรงมดลูก กรณีไม่ตั้งครรภ์หลังรับการฉีดเชื้อผสมเทียม 4-6 ครั้งจะพิจารณาประเมินสาเหตุและวางแผนการรักษาอีกครั้ง (อย่างไรก็ตามแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป)

การทำกิ๊ฟ เป็นเทคนิคแรกๆ ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากต้องทำผ่าตัดผ่านกล้องร่วมด้วย ซึ่งเจ็บตัวและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน

การทำเด็กหลอดแก้ว

คือการทำให้ได้ตัวอ่อนจากการปฏิสนธินอกร่างกาย เลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการแล้วย้ายตัวอ่อน กลับเข้าโพรงมดลูก วิธีนี้เหมาะสำหรับคู่สมรสที่อสุจิมีคุณภาพไม่ดีอย่างมาก ท่อนำไข่ตัน มีพังผืดใน อุ้งเชิงกราน หรือต้องการตรวจโครโมโซมของตัวอ่อน

ขั้นตอนการรักษา

การกระตุ้นรังไข่ ปกติจะใช้ฮอร์โมนฉีดกระตุ้นการเจริญเติบโตของไข่ โดยเลียนแบบฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (อาจพิจารณาใช้ยาแบบรับประทานหรือไม่รับประทานยาเลยกรณีรังไข่ตอบสนองไม่ดีมากๆ) ขนาดของยาที่ใช้จะแตกต่างกันไปขึ้นกับ อายุ ประวัติประจำเดือน ประวัติการกระตุ้นในรอบก่อน ประวัติการผ่าตัดอุ้งเชิงกราน ปกติใช้เวลาในการกระตุ้น 8-12 วัน

การตรวจติดตามการเจริญของไข่

การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด ในบางสถาบันอาจตรวจระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจาก เลือดร่วมด้วย เมื่อได้ไข่ขนาดเหมาะสมแพทย์จะกำหนดวันเก็บ(เจาะดูด)ไข่

การเก็บไข่

ทำในห้องผ่าตัด โดยใช้เข็มติดหัวตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด ใช้ยาฉีดระงับความเจ็บปวด ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีทั้งนี้ขึ้นกับจำนวนไข่ เมื่อรู้สึกตัวดีสามารถกลบบ้านได้เลย ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล

การเตรียมอสุจิ

ทำในวันเดียวกับการเก็บไข่ ซึ่งอาจใช้อสุจิสด หรือจากอสุจิแช่แข็ง กรณีที่ไม่สามารถเก็บอสุจิได้ หรือ ตรวจไม่พบอสุจิ จำเป็นต้องเจาะดูดอสุจิจากท่อพักอสุจิหรือตัดเนื้อจากอัณฑะ เพื่อตรวจหาอสุจิและนำ มาใช้ในกระบวนการอิ๊กซี่ (ICSI)

การปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการ โดยการนำเอาไข่และอสุจิมารวม กัน ตรวจติดตามหลังจากนั้นว่าเกิดการปฏิสนธิหรือไม่และได้ จำนวนตัวอ่อนเท่าไร อย่างไรก็ตามวิธีนี้ไม่เหมาะ สำหรับอสุจิที่ คุณภาพไม่ดีมากๆหรือกรณีต้องเจาะดูดอสุจิ สตรีอายุมาก หรือ มีประวัติไข่ไม่มีการปฏิสนธิจากการทำเด็กหลอดแก้วตามปกติ มาก่อน

การทำอิ๊กซี่ (ICSI)

การฉีดอสุจิ เข้าในไข่เพื่อช่วยการปฏิสนธิ โดยปกติทำในรายที่อสุจิผิดปกติอย่างมาก เปลือกไข่หนา ในสตรีอายุมาก อสุจิที่ได้จากการเจาะดูด หรือมีประวัติไข่ไม่ปฏิสนธิจากเด็กหลอดแก้วครั้งก่อน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนิยมทำ (ICSI) เกือบทั้งหมด เนื่องจากตัวอ่อนที่ได้จากไข่ที่ไม่ปฏิสนธิในขั้น ตอนแรกแล้วนำมาทำ ICSI นั้น มักมีคุณภาพไม่ดีโอกาสตั้งครรภ์ต่ำ

การเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ

จะกระทำในตู้เลี้ยงตัวอ่อน ซึ่งปรับอุณหภูมิ ความชื้น ประมาณก๊าซต่างๆให้ใกล้เคียงกับมดลูก ระหว่างนั้นนักวิทยาศาสตร์จะติดตามการเจริญเติบโตและคุณภาพของตัวอ่อนเป็นระยะก่อนย้ายตัว อ่อนกลับเข้าโพรงมดลูก

การย้ายตัวอ่อน

การย้ายตัวอ่อนคล้ายการตรวจภายในตามปกติ ไม่จำเป็นต้องใช้ยาระงับความเจ็บปวดและไม่ต้อง นอนโรงพยาบาล สามารถย้ายตัวอ่อนได้หลายระยะ ตัวอ่อนวันที่ 3 ,4หรือ 5 ขึ้นกับสถาบันและประวัติ ขอคู่สมรส โดยปกติจะย้ายตัวอ่อนไม่เกิน 3 ตัวอ่อนในระยะตัวอ่อนวันที่ 3-4 และ อาจย้ายตัวอ่อน เพียงตัวเดียวในระยะ blastocyst เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์แฝด ซึ่งอาจมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการ ตั้งครรภ์และการคลอด หลังการย้ายตัวอ่อนสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ควรงด การออกกำลังกายหนักๆไว้ก่อน แต่ไม่จำเป็นต้องนอนนิ่งๆ เพราะไม่ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ หลังการ ย้ายตัวอ่อนจะได้รับฮอร์โมนพยุงการตั้งครรภ์ ควรใช้ยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

การตรวจเลือดทดสอบการตั้งครรณ์

หลังการย้ายตัวอ่อน 12-14 วัน จะทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยการเจาะเลือดทั้งนี้ขึ้นกับระยะของต้วอ่อนที่ย้ายกลับ ไม่จำเป็นต้องมีอาการแสดงของการตั้งครรภ์ใดๆ

การดูแลขณะตั้งครรภ์ช่วงแรก

แพทย์จะนัดตรวจติดตามระดับฮอร์โมนในช่วงแรกและคลื่นเสียงความถี่สูง (อาจมีความแตกต่างกัน ตามระดับฮอร์โมน และประวัติ) ปกติจะพบตัวทารกที่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์นับจาการ ตรวจเลือดตั้งแรก ตรวจติดตามคลื่นเสียงความถี่สูงถึงอายุครรภ์ 10-12 สัปดาห์ ฮอร์โมนพยุงการตั้ง ครรภ์มีความจำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องจนกว่าแพทย์จะสั่งให้หยุดยา

การแช่แข็งตัวอ่อน

โดยปกติจะย้ายตัวอ่อน 1-2 ตัว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจาก การตั้งครรภ์แฝด ตัวอ่อนที่เหลือจะแช่แข็งในไนโตรเจนเหลว ที่ อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส สามารถละลายตัวอ่อนมาใช้ใน อนาคตได้โดยความผิดปกติของทารกไม่เพิ่มขึ้น

การเจาะดูดอสุจิ

ในกรณีที่ไม่พบอสุจิในน้ำเชื้อ แพทย์จะเจาะดูดบริเวณท่อพัก อสุจิ ถ้าไม่พบอสุจิจะพิจารณาตัดเชื้อเนื้อบริเวณอัณฑะเพื่อตรวจหา

กรณีไม่มีตัวอสุจิ อาจพิจารณาใช้อสุจิบริจาค หรือหยุดการรักษา ทั้งนี้ขึ้นกับการตัดสินใจของคู่สมรส

กรณีมีตัวอสุจิจำนวนมาก จะพิจารณาแช่แข็งอสุจิไว้ อย่างไร ก็ตามอสุจิจะรอดจากการละลายประมาณ 50% เท่านั้น

การบริจาค ไข่ อสุจิ ตัวอ่อน

การบริจาคไข่

ตามประกาศของแพทยสภา ที่ ๙๕ (๙) ๒๕๕๘

ผู้บริจาคต้องมีอายุระหว่าง 20 ถึง 35 ปี

ผู้บริจาคไข่ต้องมีหรือเคยมีสามีที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่มีสามีที่ชอบด้วยกฎหมายต้องมีหนังสือ ยินยอมจากสามีที่ชอบด้วยกฏหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้รับบริจาคไข่ต้องเป็นผู้มีสัญชาติเดียวกันกับผู้บริจาค ห้ามผู้รับบริจาคไข่ใช้ไข่จากผู้บริจาคมากกว่า 1 คนในแต่ละรอบการรักษา ผู้บริจาคไข่บริจาคไข่ได้ไม่เกิน 3 ครั้ง

การบริจาคอสุจิ

ผู้บริจาคอสุจิต้องมีอายุระหว่าง 20 ถึง 45 ปี ผู้บริจาคอสุจิสามารถบริจาคอสุจิได้เฉพาะกรณที่เมื่อบริจาคแล้วมีการตั้งครรภ์จนได้บุตรไม่เกิน 10 ครอบครัว ในกรณีที่มีภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้บริจาคต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจาก ภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย

การบริจาคตัวอ่อน

ผู้บริจาคตัวอ่อนต้องมีหรือเคยมีสามีที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่มีสามีที่ชอบด้วยกฎหมายต้องมี หนังสือยินยอมจากสามีที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร

ผู้บริจาคตัวอ่อนต้องมีอายุระหว่าง 20 ถึง 45 ปี ขณะทำการปฏิสนธิตัวอ่อน ผู้รับบริจาคตัวอ่อนต้องเป็นผู้มีสัญชาติเดียวกันกับผู้บริจาคและมีสามีหรือภรรยาที่ชอบด้วยกฏหมาย

การอุ้มบุญ

ภรรยาที่ชอบด้วยกฏหมายมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ว่าไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ ต้องมีสัญชาติไทย ในกรณีที่สามีหรือภรรยามิได้มีสัญชาติไทยต้องจดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี หญิงรับการตั้งครรภ์แทนทั้งที่เป็นญาติสืบสายโลหิตและมิใช่ญาติสืบสายโลหิต มีสัญชาติเดียวกันกับสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฏหมายที่ประสงค์จะมีบุตรโดยให้หญิงอื่นตั้งครรภ์ แทนมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 40 ปีบริบูรณ์ และเคยบุตรมาแล้วโดยการคลอดธรรมชาติไม่ เกิน 3 ครั้ง หรือในกรณีที่ผ่าคลอดไม่เกิน 1 ครั้ง ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสามีที่ชอบด้วยกฏหมายหรือชายที่อยู่กินกันฉันสามีภริยา จะรับตั้งครรภ์แทนจนได้คลอดบุตรไม่เกิน 2 ครั้ง

ภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา

ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป อาจเกิดน้ำในช่องท้อง ช่องปอด หายใจลำบาก ไตทำงานน้อยลง ถ้า มีอาการมากอาจต้องเจาะน้ำออกจากช่องท้องร่วมกับการให้สารน้ำหรือโปรตีนเข้าหลอดเลือด ปัจจุบัน พบภาวะดังกล่าวน้อยลง

รอยช้ำจากาการเจาะเลือด ฉีดยา

ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์แฝด ทั้งมารดาและทารก เช่น เลือดออกระหว่างการตั้งครรภ์ ภาวะรก เกาะต่ำ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ตกเลือดหลังคลอด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ต้องนอนรักษาใน ICU ใส่ท่อช่วยหายใจ

ภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาสลบ

โอกาสความสำเร็จ

โอกาสความสำเร็จนั้น ปัจจัยหลักขึ้นกับอายุของสตรี โดยเมื่ออายุมากขึ้นคุณภาพของไข่มักแย่ลง ซึ่ง ทำให้โอกาสความสำเร็จลดลงตามอายุที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามพบว่าอายุของรังไข่นั้นอาจไม่เท่ากับ อายุตามปีเกิด ดังนั้นอาจพบภาวะรังไข่บกพร่อง (ovarian insufficiency) ได้ในบางราย โดยเฉลี่ย โอกาสความสำเร็จอยู่ที่ 30% นอกจากนี้ยังขึ้นกับคุณภาพของอสุจิ ตัวอ่อน เยื่อบุโพรงมดลูก และ ปัจจัยอื่นฯ